วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ครูในดวงใจ







“เพียงแต่สอนนั้นไซร้  ไม่ลำบาก  แต่เป็นครูนั้นซิยากเป็นหนักหนา  เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา  อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ” คำกล่าวของหม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล เป็นคำกล่าวที่ประทับใจข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่งและข้าพเจ้าได้ยึดเอาคำกล่าวนี้ไว้ปฏิบัติกับนักเรียนตลอดมา
ซึ่งหากครูจะทำแต่การสอนให้เป็นไปตามหน้าที่ในการถ่ายทอดเพียงวิชาความรู้ให้กับเด็ก นั้นไม่มีความยากลำบากอะไรเลย  แต่การเป็นครูให้ที่ดีทำหน้าที่ดูแลเด็กนักเรียนให้ครบถ้วนสมบูรณ์นั้นต้องอาศัยความอดทนทุ่มเท  เสียสละ  อุทิศตน เพื่อเด็ก  ต้องใช้ทั้งความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์  ต้องรักและเมตตาต่อเด็ก    เพื่อให้เด็กซึ่งจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ
ในภายภาคหน้า  เป็นคนดี  คนเก่งและมีความสุขได้นั้น จักต้องมีครูคอยดูแลเอาใจใส่
หล่อหลอมให้เด็กมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของสังคม  เพื่อให้เด็กที่เปรียบเสมือนผ้าขาว
ที่ได้ครูดีคอยแต่งแต้มสีสัน ลงบนผืนผ้า อย่างประณีตและใส่ใจ ผืนผ้าก็จะออกมาอย่างสวยงาม ทรงคุณค่า และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าครูเปรียบเหมือนพ่อแม่คนที่สองของลูก ที่เฝ้าอบรมดูแล อุทิศตนสั่งสอนให้ลูกเป็นคนเก่ง  คนดี  มีคุณธรรม สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและทำหน้าที่อย่างเต็มใจ  ในการอบรม   สั่งสอนศิษย์ได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างทางด้านการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องให้กับนักเรียน ครูและชุมชน ด้วยการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยคำนึงถึงศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียน ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลอัจฉริยภาพทางภาษาไทย ระดับเหรียญเงิน ในการแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนของเขตพื้นที่ และครูผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะครูตามโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเป็น Master Teacher วิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้รับรางวัล        ครูรักการอ่านดีเด่น และโรงเรียนรักการอ่าน ดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2549 ของสำนักงานเขตพื้นที่
เป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาตนเอง  โดยใส่ใจศึกษาค้นคว้าริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่  ๆ  เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอโดยการเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา  สาขา สารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ  นำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์จัดการเรียนการสอนได้เป็นที่ประจักษ์ โดยได้ จัดทำเว็บไซต์ www.kruyaowarat.com เป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนรู้ไปสู่นักเรียน  คณะครู  และขยายผลในชุมชน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ที่ทันสมัย   ทันเหตุการณ์  ส่งผลให้นักเรียนได้รับ รางวัลระดับเหรียญเงินและเหรียญทองแดง 4  รายการ ในการแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนของเขตพื้นที่ประเภทการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ผลงาน และครูผู้สอนผ่านเกณฑ์การประเมินจากสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน  สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมการใช้  Social Media
ในการจัดการเรียนรู้  ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เมื่อวันที่  26  กรกฎาคม  2553
ศึกษาการสอนดนตรีไทยพื้นบ้านร่วมกับครูภูมิปัญญาชาวบ้าน จนเกิดทักษะในการสอนสามารถนำมาถ่ายทอดให้เด็กๆได้  จัดกิจกรรมดนตรีบำบัดให้กับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถแสดงออกในที่ชุมชนได้โดยได้เข้าร่วมแสดงในงานฤดูหนาวและกาชาดจังหวัดลำปางประจำปี พ.ศ. 2553  ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทองประเภทร้องเพลงไทยลูกทุ่งและรางวัลระดับเหรียญทองแดง ประเภทเดี่ยวดนตรีไทย ในการแข่งขันทักษะวิชาการของเขตพื้นที่
เป็นอาสาสมัครโครงการเยาวชนไทยในวันพรุ่งนี้  โดยได้ดำเนินการขอรับทุนจากทางโครงการฯ  มาอย่างต่อเนื่อง เข้าร่วมอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการแนะแนวกับทุกองค์กรที่จัดขึ้น ทำให้ได้รับความรู้และเทคนิคในด้านการแนะแนว   สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี  ซึ่งงานด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นงานที่ข้าพเจ้าได้ให้ความสนใจและทุ่มเทกำลังกาย  กำลังใจ  อุทิศและเสียสละตนเพื่อเด็กนักเรียนที่ด้อยโอกาสให้ได้มีโอกาสทัดเทียมกับผู้อื่นในสังคม   ทุกๆปีในวันแม่ข้าพเจ้าจะขึ้นไปบนเวทีเพื่อเป็นตัวแทนของแม่ให้กับเด็กๆ ซึ่งข้าพเจ้าจะกลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้ เมื่อนักเรียนเข้ามาไหว้และกอดแล้วบอกว่า “หนูรักคุณครู” ซึ่งเขาควรจะได้กอดแม่ผู้ให้กำเนิดเขาในวันนี้ และข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมแบบนี้มันเหมือนไปตอกย้ำเขาอยู่ตลอดเวลาทุกๆปี ข้าพเจ้าเคยร้องให้น้ำตาไหลพรากไปกับเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูแนะแนวไม่ควรทำ เพราะอะไรน่ะหรือ ?
ก็เด็กอายุ  8  ขวบ พ่อแม่เสียชีวิตด้วยโรคร้าย เผชิญชีวิตอยู่ตามลำพัง  ญาติพี่น้องก็ไม่อยากเลี้ยงดูเพราะไม่มีทรัพย์สมบัติให้  ผลักกันไปดันกันมา  จนเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวเพราะรู้ว่าไม่มีใครรัก  ไม่ใช่ความผิดของเด็กเลย  ผู้ใหญ่ต่างหากที่ทำให้เขาต้องมีพฤติกรรมแบบนั้น   ความรักความอบอุ่นในครอบครัวนั้น เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กและเยาวชนผู้ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต  หากครอบครัวขาด ความรัก ความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่  ก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมในทางที่ไม่ดีต่างๆของเด็กและจะติดตัวไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่
“โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน”  จึงเป็นโครงการที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริม ป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน ซึ่งโรงเรียนของข้าพเจ้า เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  ภายในโรงเรียนหลากหลายด้วยปัญหาของผู้เรียน  นักเรียนที่เข้ามาเรียน มีหลายประเภท  เช่น  นักเรียนที่ออกกลางคันจากหลายโรงเรียน  เด็กด้อยโอกาส  เด็กที่ได้รับผลกระทบจากภัยเอดส์  เด็กขาดความอบอุ่นเนื่องจากครอบครัวแตกแยก เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  ฯลฯ  ซึ่ง
ทั้งครูและครอบครัวต้องดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือและเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปให้กับเขา  ต้องศึกษา
ทำความเข้าใจ คอยดูแลเขาอย่างใกล้ชิด   ข้าพเจ้าได้มองเห็นความสำคัญของปัญหาและได้เสนอ กิจกรรมสนทนาศิษย์ลูก  กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน และกิจกรรมเครือข่ายผู้ปกครองเข้มแข็ง กิจกรรมดนตรีบำบัด ที่นำ ดนตรีมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ทำให้นักเรียนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และก่อให้เกิดความจรรโลง ใจ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน   ข้าพเจ้าได้นำเสนอโครงการให้กับผู้บริหารและได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ  ทำให้เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพ  โดยคำนึงถึงตัวนักเรียนเป็นหลัก ให้เขาได้รับประโยชน์สูงสุด และมีความสุข  ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น ระดับเขตพื้นที่  ครูได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูดีในดวงใจ และได้รับรางวัลครูดีเด่น ประเภทกิจกรรมแนะแนว ระดับ เขตพื้นที่   ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู มุ่งมั่นรับผิดชอบ อุทิศตนด้วยแรงกายแรงใจ และแรงปัญญา   อุทิศเวลา  และกำลังทรัพย์  เพื่อเด็กน้อยผู้น่าสงสารเหล่านี้  เพราะเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้า  เด็กขาดความอบอุ่น  ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงอุทิศตนเพื่อดูแลช่วยเหลือเด็กทุกคนในโรงเรียน  โดยการสมัครเข้ารับการอบรมเป็นผู้ให้บริการสอนเสริมเด็กพิการเรียนร่วม  ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดลำปาง ได้รับการรับรอง เพื่อสอนเสริมแก่เด็กพิเศษที่มีปัญหาด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ให้กับเด็กในโรงเรียน เพื่อเติมเต็มแก่เด็กด้อยโอกาสให้เขาเหล่านั้น ได้มีโอกาส มีอนาคตที่ดีสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ข้าพเจ้าจะออกเยี่ยมบ้านจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ทำให้ได้รับทราบถึงปัญหา ชีวิตความเป็นอยู่ ชีวิตครอบครัวของนักเรียน ได้สนทนาซักถาม   ทำการส่งเสริม  ป้องกันและวางแผนร่วมกันกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาให้กับเด็กส่งผลให้นักเรียนของข้าพเจ้า เป็นคนเก่ง คนดี และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
การพัฒนาการศึกษานั้นจะเกิดผลดีได้  ควรได้รับความร่วมมือกับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นครอบครัว   เด็ก  และโรงเรียน  โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กอยู่ที่การเลี้ยงดูและสั่งสอนจากครอบครัว  หากเขาได้รับการเลี้ยงดูอย่างไร ก็จะมีพฤติกรรมอย่างนั้น  ดังนั้นเด็ก ที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีจะต้องมีพื้นฐานครอบครัวที่เข้มแข็ง   และได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากครูที่โรงเรียน การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครอง  เด็ก  และครู  จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีต่อกัน เป็นการเสริมสร้างความรักความผูกผันให้กับเด็ก  ทำให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรมสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  การพัฒนาการศึกษาจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล /



ครูในดวงใจ







“เพียงแต่สอนนั้นไซร้  ไม่ลำบาก  แต่เป็นครูนั้นซิยากเป็นหนักหนา  เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา  อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ” คำกล่าวของหม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล เป็นคำกล่าวที่ประทับใจข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่งและข้าพเจ้าได้ยึดเอาคำกล่าวนี้ไว้ปฏิบัติกับนักเรียนตลอดมา
ซึ่งหากครูจะทำแต่การสอนให้เป็นไปตามหน้าที่ในการถ่ายทอดเพียงวิชาความรู้ให้กับเด็ก นั้นไม่มีความยากลำบากอะไรเลย  แต่การเป็นครูให้ที่ดีทำหน้าที่ดูแลเด็กนักเรียนให้ครบถ้วนสมบูรณ์นั้นต้องอาศัยความอดทนทุ่มเท  เสียสละ  อุทิศตน เพื่อเด็ก  ต้องใช้ทั้งความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์  ต้องรักและเมตตาต่อเด็ก    เพื่อให้เด็กซึ่งจะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ
ในภายภาคหน้า  เป็นคนดี  คนเก่งและมีความสุขได้นั้น จักต้องมีครูคอยดูแลเอาใจใส่
หล่อหลอมให้เด็กมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของสังคม  เพื่อให้เด็กที่เปรียบเสมือนผ้าขาว
ที่ได้ครูดีคอยแต่งแต้มสีสัน ลงบนผืนผ้า อย่างประณีตและใส่ใจ ผืนผ้าก็จะออกมาอย่างสวยงาม ทรงคุณค่า และคงไม่มีใครปฏิเสธว่าครูเปรียบเหมือนพ่อแม่คนที่สองของลูก ที่เฝ้าอบรมดูแล อุทิศตนสั่งสอนให้ลูกเป็นคนเก่ง  คนดี  มีคุณธรรม สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและทำหน้าที่อย่างเต็มใจ  ในการอบรม   สั่งสอนศิษย์ได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างทางด้านการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องให้กับนักเรียน ครูและชุมชน ด้วยการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยคำนึงถึงศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียน ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลอัจฉริยภาพทางภาษาไทย ระดับเหรียญเงิน ในการแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนของเขตพื้นที่ และครูผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะครูตามโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเป็น Master Teacher วิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และได้รับรางวัล        ครูรักการอ่านดีเด่น และโรงเรียนรักการอ่าน ดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2549 ของสำนักงานเขตพื้นที่
เป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาตนเอง  โดยใส่ใจศึกษาค้นคว้าริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่  ๆ  เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอโดยการเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา  สาขา สารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ  นำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์จัดการเรียนการสอนได้เป็นที่ประจักษ์ โดยได้ จัดทำเว็บไซต์ www.kruyaowarat.com เป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนรู้ไปสู่นักเรียน  คณะครู  และขยายผลในชุมชน ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ที่ทันสมัย   ทันเหตุการณ์  ส่งผลให้นักเรียนได้รับ รางวัลระดับเหรียญเงินและเหรียญทองแดง 4  รายการ ในการแข่งขันทักษะวิชาการนักเรียนของเขตพื้นที่ประเภทการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ผลงาน และครูผู้สอนผ่านเกณฑ์การประเมินจากสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน  สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมการใช้  Social Media
ในการจัดการเรียนรู้  ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เมื่อวันที่  26  กรกฎาคม  2553
ศึกษาการสอนดนตรีไทยพื้นบ้านร่วมกับครูภูมิปัญญาชาวบ้าน จนเกิดทักษะในการสอนสามารถนำมาถ่ายทอดให้เด็กๆได้  จัดกิจกรรมดนตรีบำบัดให้กับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถแสดงออกในที่ชุมชนได้โดยได้เข้าร่วมแสดงในงานฤดูหนาวและกาชาดจังหวัดลำปางประจำปี พ.ศ. 2553  ส่งผลให้นักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทองประเภทร้องเพลงไทยลูกทุ่งและรางวัลระดับเหรียญทองแดง ประเภทเดี่ยวดนตรีไทย ในการแข่งขันทักษะวิชาการของเขตพื้นที่
เป็นอาสาสมัครโครงการเยาวชนไทยในวันพรุ่งนี้  โดยได้ดำเนินการขอรับทุนจากทางโครงการฯ  มาอย่างต่อเนื่อง เข้าร่วมอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการแนะแนวกับทุกองค์กรที่จัดขึ้น ทำให้ได้รับความรู้และเทคนิคในด้านการแนะแนว   สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดี  ซึ่งงานด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นงานที่ข้าพเจ้าได้ให้ความสนใจและทุ่มเทกำลังกาย  กำลังใจ  อุทิศและเสียสละตนเพื่อเด็กนักเรียนที่ด้อยโอกาสให้ได้มีโอกาสทัดเทียมกับผู้อื่นในสังคม   ทุกๆปีในวันแม่ข้าพเจ้าจะขึ้นไปบนเวทีเพื่อเป็นตัวแทนของแม่ให้กับเด็กๆ ซึ่งข้าพเจ้าจะกลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้ เมื่อนักเรียนเข้ามาไหว้และกอดแล้วบอกว่า “หนูรักคุณครู” ซึ่งเขาควรจะได้กอดแม่ผู้ให้กำเนิดเขาในวันนี้ และข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมแบบนี้มันเหมือนไปตอกย้ำเขาอยู่ตลอดเวลาทุกๆปี ข้าพเจ้าเคยร้องให้น้ำตาไหลพรากไปกับเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูแนะแนวไม่ควรทำ เพราะอะไรน่ะหรือ ?
ก็เด็กอายุ  8  ขวบ พ่อแม่เสียชีวิตด้วยโรคร้าย เผชิญชีวิตอยู่ตามลำพัง  ญาติพี่น้องก็ไม่อยากเลี้ยงดูเพราะไม่มีทรัพย์สมบัติให้  ผลักกันไปดันกันมา  จนเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวเพราะรู้ว่าไม่มีใครรัก  ไม่ใช่ความผิดของเด็กเลย  ผู้ใหญ่ต่างหากที่ทำให้เขาต้องมีพฤติกรรมแบบนั้น   ความรักความอบอุ่นในครอบครัวนั้น เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กและเยาวชนผู้ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต  หากครอบครัวขาด ความรัก ความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่  ก็จะส่งผลต่อพฤติกรรมในทางที่ไม่ดีต่างๆของเด็กและจะติดตัวไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่
“โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน”  จึงเป็นโครงการที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริม ป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน ซึ่งโรงเรียนของข้าพเจ้า เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  ภายในโรงเรียนหลากหลายด้วยปัญหาของผู้เรียน  นักเรียนที่เข้ามาเรียน มีหลายประเภท  เช่น  นักเรียนที่ออกกลางคันจากหลายโรงเรียน  เด็กด้อยโอกาส  เด็กที่ได้รับผลกระทบจากภัยเอดส์  เด็กขาดความอบอุ่นเนื่องจากครอบครัวแตกแยก เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  ฯลฯ  ซึ่ง
ทั้งครูและครอบครัวต้องดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือและเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปให้กับเขา  ต้องศึกษา
ทำความเข้าใจ คอยดูแลเขาอย่างใกล้ชิด   ข้าพเจ้าได้มองเห็นความสำคัญของปัญหาและได้เสนอ กิจกรรมสนทนาศิษย์ลูก  กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน และกิจกรรมเครือข่ายผู้ปกครองเข้มแข็ง กิจกรรมดนตรีบำบัด ที่นำ ดนตรีมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ทำให้นักเรียนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และก่อให้เกิดความจรรโลง ใจ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน   ข้าพเจ้าได้นำเสนอโครงการให้กับผู้บริหารและได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ  ทำให้เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพ  โดยคำนึงถึงตัวนักเรียนเป็นหลัก ให้เขาได้รับประโยชน์สูงสุด และมีความสุข  ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น ระดับเขตพื้นที่  ครูได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูดีในดวงใจ และได้รับรางวัลครูดีเด่น ประเภทกิจกรรมแนะแนว ระดับ เขตพื้นที่   ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู มุ่งมั่นรับผิดชอบ อุทิศตนด้วยแรงกายแรงใจ และแรงปัญญา   อุทิศเวลา  และกำลังทรัพย์  เพื่อเด็กน้อยผู้น่าสงสารเหล่านี้  เพราะเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้า  เด็กขาดความอบอุ่น  ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงอุทิศตนเพื่อดูแลช่วยเหลือเด็กทุกคนในโรงเรียน  โดยการสมัครเข้ารับการอบรมเป็นผู้ให้บริการสอนเสริมเด็กพิการเรียนร่วม  ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดลำปาง ได้รับการรับรอง เพื่อสอนเสริมแก่เด็กพิเศษที่มีปัญหาด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ให้กับเด็กในโรงเรียน เพื่อเติมเต็มแก่เด็กด้อยโอกาสให้เขาเหล่านั้น ได้มีโอกาส มีอนาคตที่ดีสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ข้าพเจ้าจะออกเยี่ยมบ้านจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ทำให้ได้รับทราบถึงปัญหา ชีวิตความเป็นอยู่ ชีวิตครอบครัวของนักเรียน ได้สนทนาซักถาม   ทำการส่งเสริม  ป้องกันและวางแผนร่วมกันกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาให้กับเด็กส่งผลให้นักเรียนของข้าพเจ้า เป็นคนเก่ง คนดี และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
การพัฒนาการศึกษานั้นจะเกิดผลดีได้  ควรได้รับความร่วมมือกับทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นครอบครัว   เด็ก  และโรงเรียน  โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กอยู่ที่การเลี้ยงดูและสั่งสอนจากครอบครัว  หากเขาได้รับการเลี้ยงดูอย่างไร ก็จะมีพฤติกรรมอย่างนั้น  ดังนั้นเด็ก ที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีจะต้องมีพื้นฐานครอบครัวที่เข้มแข็ง   และได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากครูที่โรงเรียน การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครอง  เด็ก  และครู  จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีต่อกัน เป็นการเสริมสร้างความรักความผูกผันให้กับเด็ก  ทำให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรมสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  การพัฒนาการศึกษาจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล /



วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

 ประวัติความเป็นมา

         วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ





         ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

         สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข



         อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้

         ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน

 วัตถุประสงค์การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ


         สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก

         นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ"

 กิจกรรมวันเด็ก

         กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ  ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ


 คำขวัญวันเด็ก
          คำขวัญวันเด็ก เป็น คำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


happyคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรีในปีต่าง ๆ


          ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็กจึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อ ๆ มา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้


 พ.ศ.2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม - จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
 
 พ.ศ.2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ - ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า

 พ.ศ.2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ -  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด

 พ.ศ.2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ -  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย

 พ.ศ.2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ -  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
 
 พ.ศ.2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ -  ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
 
 พ.ศ.2507 - งดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
 
 พ.ศ.2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
 
 พ.ศ.2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี

 พ.ศ.2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย

 พ.ศ.2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง

 พ.ศ.2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

 พ.ศ.2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
 
 พ.ศ.2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ

 พ.ศ.2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
 
 พ.ศ.2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

 พ.ศ.2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - สามัคคีคือพลัง

 พ.ศ.2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ - เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี
 
 พ.ศ.2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช - เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้

 พ.ศ.2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
 
 พ.ศ.2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
 
 พ.ศ.2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
 
 พ.ศ.2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ - อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

 พ.ศ.2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
 
 พ.ศ.2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
 
 พ.ศ.2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
 
 พ.ศ.2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา

 พ.ศ.2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

 พ.ศ.2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

 พ.ศ.2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
 
 พ.ศ.2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ - นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

 พ.ศ.2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม

 พ.ศ.2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
 
 พ.ศ.2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ - รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา

 พ.ศ.2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน - สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

 พ.ศ.2536 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
 
 พ.ศ.2537 - นายชวน หลีกภัย - ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
 
 พ.ศ.2538 - นายชวน หลีกภัย - สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
 
 พ.ศ.2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา - มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด

 พ.ศ.2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ - รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด

 พ.ศ.2541 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
 
 พ.ศ.2542 - นายชวน หลีกภัย ขยัน - ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

 พ.ศ.2543 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

 พ.ศ.2544 - นายชวน หลีกภัย - มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

 พ.ศ.2545 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

 พ.ศ.2546 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี

 พ.ศ.2547 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร - รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน

 พ.ศ.2548 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  - เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด

 พ.ศ.2549 - พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร  - อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

 พ.ศ.2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข

 พ.ศ.2551 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ - สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

 พ.ศ.2552 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

 พ.ศ.2553 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

 พ.ศ.2554 - อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

 พ.ศ.2555 - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร - "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี"




          ทั้งนี้ สำหรับคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2555 นั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการจะสื่อสารให้เด็ก ๆ รู้จักรักสามัคคี ต้องใฝ่หาความรู้ ร่วมทั้งหาความสมดุลระหว่างความเป็นไทยและเทคโนโลยีด้วย พร้อมกับบอกให้คนไทยทุกคนทราบว่า อยากเห็นรอยยิ้มของคนไทย